ราชวงศ์โชซอน
เกาหลี: 조선 , ฮันจา: 朝鮮, MC: Joseon, MR: Chosŏn
หรือบางครั้งจะรู้จักกันในชื่อ ราชวงศ์ลี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองคาบสมุทรเกาหลี และเป็นราชวงศ์ปัจจุบันที่ปกครองเกาหลีในระบอบกษัตริย์หรือระบอบราชวงศ์ โดยผ่านยุคสมัยตั้งแต่เริ่มต้นมีอารยธรรมขึ้นบนคาบสมุทรเกาหลี ตั้งแต่ยุคโบราณในสมัยต่างๆมาจนกระทั่งถึงยุคสมัยนี้ ราชวงศ์โชซอน มีอายุกว่า 500 ปี
ช่วงเวลาที่ราชวงศ์โชซอนปกครองเกาหลีนั้น ได้สร้างการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มั่นคง ส่งเสริมปรัชญาของลัทธิขงจื้อให้ซึมซาบไปในสังคมเกาหลี และรับวัฒนธรรมจีน เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมเกาหลีรุ่งเรือง และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ในช่วงศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์โชซอนอ่อนแอลงด้วยการรุกรานของญี่ปุ่นและแมนจู ทำให้โชซอนเป็นนโยบายปิดประเทศที่แข็งกร้าว อาณาจักรโชซอนจึงเป็นรู้จักของชาวตะวันตกในนาม อาณาจักรฤๅษี (The Hermit Kingdom) เมื่อสิ้นศตวรรษที่ 18 อาณาจักรโชซอนก็เสื่อมลงด้วยการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายและการแย่งชิงอำนาจ เผชิญทั้งศึกภายนอกและศึกภายใน ใน พ.ศ. 2438 หลังจากที่ญี่ปุ่นชนะสงครามกับจีน ก็ได้บังคับให้โชซอนแยกตัวเป็นเอกราชจากราชวงศ์ชิงในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ใน พ.ศ. 2440 โชซอนจึงเลื่อนสถานะเป็นจักรวรรดิเกาหลี ที่ไม่เป็นเมืองขึ้นของจีน และจักรวรรดิเกาหลีก็จบลงด้วยการเข้ายึดครองของจักรวรรดิญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2453 ตามสนธิสัญญาการเข้ายึดครองเกาหลีของญี่ปุ่น
ราชวงศ์โชซอนก่อตั้งขึ้นโดย นายพลลีซองเก (태조 Lee Soggye) ขุนพลคนสำคัญแห่งราชวงศ์โครยอ (Koreo Dynasty) ก่อการยึดอำนาจในปี พ.ศ. 1935 (ค.ศ. 1392) ขึ้นเป็นพระเจ้าแทโจ ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเสียใหม่เป็นโชซอนและย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ฮันยาง หรือ กรุงโซลในปัจจุบัน
ก่อนหน้านั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1931 แผ่นดินซึ่งปกครองโดยราชวงศ์โครยอที่ปกครองเกาหลีมาถูกล้มล้างราชบัลลังก์ และให้พระเจ้าคงยาง ครองราชย์เป็นกษัตริย์หุ่นเชิด
ใน พ.ศ. 1935 ลี ซอเก ก็ปลดพระเจ้าคงยางและตั้งตนเองเป็นกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ และย้ายเมืองหลวงมาที่ฮันยาง ทำการก่อสร้างและปรับปรุงเมือง จนสร้างพระราชวังเคียงบกเสร็จใน พ.ศ. 1938 พระเจ้าแทจงโอรสของพระเจ้าแทโจก็ได้ทรงวางรากฐานการปกครองของอาณาจักรโชซอน ทรงตั้งสภาอึยจอง ให้มีการสำรวจสำมะโนประชากร และสนับสนุนลัทธิขงจื้อให้เป็นที่ยอมรับนับถือเหนือพระพุทธศาสนาซึ่งแต่เดิม มีชาวเกาหลีนับถือกันมาช้านาน พ.ศ. 1944 ราชวงศ์หมิงก็ยอมรับให้ราชวงศ์โชซอนปกครองเกาหลีอย่างเป็นทางการ และเป็นเมืองขึ้นของจีนต้องส่งบรรณาการ
การแบ่งชนชั้นในสมัยโชซอนมีรากฐานมาจากสังคมในปลายสมัยโครยอ มีกษัตริย์โชซอนอยู่ที่ยอดพีระมิด รองลงมาเป็นชนชั้นปกครอง คือ พวกขุนนาง ปราชญ์ขงจื้อต่างๆ ชนชั้นของโชซอนเป็น 4 ชั้น
1. ยังบัน แปลว่า สองชนชั้น ประกอบด้วย มุนบัน ชนชั้นปราชญ์ คือ ขุนนางฝ่ายบุ๋น และมูบัน ชนชั้นนักรบ คือ ขุนนางฝ่ายบู้ยังบันเป็นชนชั้นที่มีเอกสิทธิ์ในการมีส่วนร่วมในการปกครอง บ้านเมือง ลูกหลานของยังบันเท่านั้นที่มีสิทธิ์สอบควากอ (จอหงวน) ในสมัยต้นโชซอนรายได้ของยังบันคือรายได้จากที่ดินของตนในการทำเกษตรกรรมหรือ ให้เช่า แต่ในสมัย พระเจ้าเซโจ กษัตริย์องค์ที่ 6 โอรสของ พระเจ้าเซจงมหาราช ได้ยึดที่ดินของยังบันไปเป็นของทางราชการหมด ทำให้ยังบันมีเพียงรายได้จากเบี้ยหวัดจากราชสำนักเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วยังบันจะได้รับการยกเว้นภาษี
2. จุงอิน แปลว่า ชนชั้นกลาง เป็นคนกลุ่มที่เป็นลูกจ้างของทางราชการ สอบควากอได้เพียงระดับต่ำ คือ มิได้ไปเป็นขุนนางปกครองบ้านเมืองแต่เป็นคนงานในราชสำนัก อาชีพของจุงอินมีสี่อย่าง คือ ล่ามแปลภาษา นักกฎหมาย แพทย์ (ชาย) และโหรหลวง
3. ซังมิน คือ สามัญชนทั่วไป คือ ชาวบ้านชาวนาชาวไร่ กรรมกร ชาวประมง ซึ่งจะต้องถูกเก็บภาษีจากโจ (ที่ดิน) โพ (เสื้อผ้า) และยอก (ส่วยแทนการเกณฑ์ทหาร) ซังมินจะต้องรองรับภาษีที่สูงลิบลิ่วเหล่านี้ และบ่อยครั้งที่ไม่พอใจลุกฮือต่อต้านจนทางการต้องเอากำลังมาปราบ
4. ชอนมิน คือ ทาส พวกนี้ไม่ใช่คน ทางราชการจะเข้ามาควบคุมชนชั้นนี้เสมือนเป็นสิ่งของชิ้นหนึ่ง ซึ่งเป็นสมบัติส่วนบุคคลสามารถซื้อขายกันได้ และทางราชการเองก็มีชอนมินไว้เป็นสมบัติเป็นจำนวนมากเพื่อใช้งานในราชสำนัก ชอนมินที่ไม่ได้มีเจ้าของก็จะประกอบอาชีพที่สังคมดูถูกเช่น คนฆ่าสัตว์ นักแสดงกายกรรม ผู้หญิงก็จะมีสามอาชีพ คือ มูดัง (ร่างทรง) คีแซง (นางโลม) และอึยนยอ (แพทย์หญิง) แต่ควากอขุนนางฝ่ายบู้ก็เปิดโอกาสให้ชอนมินผู้ชายเข้าไปเป็นทหารเช่นกัน
การแบ่งชนชั้นทางสังคมโชซอนนั้นเข้มงวดมากในต้นสมัยโชซอน แต่หลังจากสงครามกับญี่ปุ่นและการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกแล้ว ชนชั้นล่างก็เริ่มที่จะลืมตาอ้าปากได้ขณะที่ชนชั้นบนก็ยากจนขัดสนลง สตรียังบันนั้นจะต้องเชื่อฟังสามี เก็บตัวอยู่แต่ในบ้านออกนอกบ้านได้นานๆครั้ง เมื่อออกนอกบ้านต้องปกปิดหน้าตา แต่สตรีในระดับชั้นล่างกลับมีอิสรภาพมากกว่า สามารถไปไหนมาไหนก็ได้
ราชวงศ์โชซอนนั้นมีพระราชวังที่อยู่ในเมืองหลวงทั้งหมดห้าแห่ง คือ
-พระราชวังคยองบก หรือ เคียงบก (เกาหลี: 경복궁) พระราชวังหลวงและพระราชวังหลักของกษัตริย์ราชวงศ์โชซอน ตั้งอยู่ที่ตอนเหนือของกรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เป็นหนึ่งในห้าพระราชวังใหญ่ที่สร้างขึ้นโดยราชวงศ์โชซอน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1937 (ค.ศ. 1394) โดย ชองโดจอน (정도전) และได้กลายเป็นพระราชวังหลวงหรือวังหลักสำหรับประทับว่าราชการของกษัตริย์ และเหล่าเชื้อพระวงศ์ของเกาหลีมาโดยตลอด และได้รับการต่อเติมโดยพระเจ้าแทจงและพระเจ้าเซจงมหาราช แต่บางส่วนของพระราชวังนั้นถูกเพลิงเผาวอดในช่วงที่ญี่ปุ่นบุกประเทศเกาหลี
พระราชวังมีเนื้อที่ 5.4 ล้านตารางฟุต โดยในช่วงต้นราชวงศ์โชซอนมีตำหนักอาคารมากถึง 200 อาคาร กระทั่งปี พ.ศ. 2135 ที่กองทัพญี่ปุ่นบุกรุกประเทศเกาหลี ตำหนักต่างๆ ได้ถูกทุบทำลาย ถูกเผาทิ้งไปเป็นจำนวนมาก ก่อนที่จะได้รับการบูรณะซ่อมแซม และสร้างพระราชวังขึ้นมาใหม่ในแบบฉบับเดิม โดยในปัจจุบันมีตำหนักทั้งสิ้น 10 ตำหนัก
คำว่า “เคียงบกกุง” ในภาษาเกาหลี แปลว่า “พระราชวังแห่งพรที่ส่องสว่าง (The Palace of Shining Blessings)”
-พระราชวังชางด๊อกกุง พระราชวังตะวันออก หรือ พระราชวังชางด๊อก หนึ่งในห้าพระราชวังที่สำคัญที่สุดในเกาหลี สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแทจงแห่งราชวงศ์โชซอน เมื่อปี พ.ศ. 1948 (ค.ศ. 1405) แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 1955 (ค.ศ. 1412) ด้วยเหตุที่พระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระราชวังเคียงบก (Kyeongbok Palace) ผู้คนจึงเรียกพระราชวังแห่งนี้ว่าพระราชวังตะวันออก (East Palace)
ต่อมาในรัชกาลพระเจ้าซอนโจ กษัตริย์องค์ที่ 14 ของราชวงศ์ยังได้โปรดให้ขยายสนามหญ้าของพระราชวังเป็น 500,000 ตารางเมตร
ในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) ขุนศึกญี่ปุ่น โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิได้เข้ารุกรานเกาหลี กินเวลายาวนานถึง 7 ปี พร้อมกับเผาทำลายพระราชวัง ซึ่งในปีนี้เองเป็นปีที่ฉลองครบรอบ 200 ปีแห่งการสถาปนาราชวงศ์
หลังจากผ่านสงคราม 7 ปีไปแล้ว พระราชวังก็ได้รับการบูรณะขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1619) โดยพระเจ้าซอนโจ และองค์ชายควางแฮกุน แต่อีก 4 ปีต่อมา พระราชวังกลับเกิดเพลิงเผาวอดอีกครั้ง ในเหตุจราจลที่ขุนนางไม่พอใจองค์ชายควางแฮและก่อการยึดอำนาจ สถาปนาองค์ชายนึงยางขึ้นเป็นพระเจ้าอินโจ พร้อมกับเนรเทศองค์ชายควางแฮไปเกาะคังฮวา
พระราชวังถูกโจมตีอีกครั้งโดยพวกแมนจูหรือราชวงศ์ชิงของจีน แต่หลังจากนั้นพระราชวังก็ได้รับการสร้างใหม่ให้อยู่ในสภาพดั้งเดิม
ชางด๊อกกุงได้ใช้เป็นที่ประทับขององค์กษัตริย์ ที่ว่าราชการ และที่ทำงานของขุนนางข้าราชการจนถึงปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อพระราชวังเคียงบกซึ่งอยู่ข้างเคียงได้รับการสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งโดยสมเด็จพระจักรพรรดิซุนจง แต่อย่างไรก็ตามกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของเกาหลีพระองค์นี้ก็ได้เสด็จมาประทับที่ชางด๊อกกุงเรื่อยมากระทั่งสวรรคตในปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926)
พระราชวังแห่งนี้ได้เป็นฉากหลังในซีรีส์เกาหลีเรื่องแดจังกึมจอมนางแห่งวังหลวง
โซล บีวอน
ในปัจจุบัน เชื้อพระวงศ์และราชวงศ์เกาหลี ที่ปัจจุบัน ยังไม่มีความเป็นประมุขประเทศอย่างเป็นทางการ นั้น ถ้าในอนาคต สถาบันกษัตริย์เกาหลีถูกฟื้นขึ้นในฐานะสัญลักษณ์(ระบอบประชาธิปไตยอันมี สมเด็จพระจักรพรรดิเป็นประมุข) สถานที่แห่งนี้น่า เป็นสถานที่ใช้ในการประกอบพิธี การขึ้นครองราชย์ อีกครั้ง ของสถาบันกษัตริย์เกาหลี
-พระราชวังต๊อกซูกุง พระราชวังตะวันตก พระราชวังต๊อกซู เป็นหนึ่งในห้าพระราชวังที่สำคัญที่สุดของ ราชวงศ์โชซอน และ เกาหลี เดิมพระราชวังแห่งนี้เป็นที่ประทับของ องค์ชายวอลซาน พระเชษฐาใน พระเจ้าซองจง หรือ องค์ชายชาซาน โดยในระหว่าง สงครามเจ็ดปี ที่นี่ได้กลายเป็นพระราชวังหลวงโดย พระเจ้าซอนโจ เป็นกษัตริย์องค์แรกที่เสด็จมาประทับที่พระราชวังแห่งนี้และ องค์ชายควางแฮกุน ได้ทรงสวมมงกุฎที่นี่เมื่อ ค.ศ. 1608 (พ.ศ. 2151) และทรงได้เปลี่ยนชื่อพระราชวังแห่งนี้เป็น พระราชวังยอนกุนกุง (경운궁, 慶運宮)ในปี ค.ศ. 1611 (พ.ศ. 2154)หลังจากทางราชสำนักได้กลับไปสร้าง พระราชวังชางด๊อกกุง ขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ. 1618 (พ.ศ. 2161) พระราชวังแห่งนี้ก็ได้เป็นพระราชวังรองตลอด 270 ปี (ค.ศ. 1618-1888) และได้เปลี่ยนชื่อเป็น ซอกุง (พระราชวังตะวันตก) ต่อมาในปี ค.ศ. 1897 (พ.ศ. 2440) หลังจากเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองแล้ว พระเจ้าโกจง ได้ทรงลี้ภัยเข้าไปประทับใน สถานทูตรัสเซีย หลังจากนั้นพระองค์ได้กลับมาประทับ ที่พระราชวังแห่งนี้และได้เปลี่ยนชื่อเป็นยอนกุนกุงอีกครั้งหลังจากทรงย้าย กลับมาประทับที่พระราชวังแห่งนี้แล้วทรงโปรดให้มีการขยายและเพิ่มเติมสิ่ง ้อำนวยความสะดวกในพระราชวังหลังจากทรงสละราชสมบัติให้ สมเด็จพระจักรพรรดิซุนจง พระราชโอรสก็ทรงประทับที่พระราชวังแห่งนี้และ้ได้เปลี่ยน ชื่อพระราชวังเป็น พระราชวังต๊อกซูกุง จนถึงทุกวันนี้และมีเรื่องเล่าอ้างอิงว่าทรงอธิษฐานให้ทรงมีพระชนม์ชีพที่ยาวนานและทรงใช้พระชนม์ชีพ ้ที่เหลือประทับที่ ฮัมเนียงจอน โดยปัจจุบันนี้พระราชวังต๊อกซูกุงได้เป็นพิพิธภัณฑ์มีสวนป่าและมี พระบรมรูป พระเจ้าเซจงมหาราช
-พระราชวังชางเกียงกุง พระราชวังฤดูร้อน หรือ พระราชวังชางเกียง หนึ่งในห้าพระราชวังที่สำคัญที่สุดใน เกาหลี ตั้งอยู่ในกรุง โซล ประเทศ เกาหลีใต้ เดิมเป็น พระราชวังฤดูร้อน ของกษัตริย์ ราชวงศ์โครยอ กระทั่ง พระเจ้าเซจงมหาราช มีดำริที่จะสร้างพระราชวังถวายแก่พระราชบิดาคือ พระเจ้าแทจง แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2026 ในรัชสมัย พระเจ้าซองจง ทรงโปรดให้บูรณะซ่อมแซมและขยายอาณาเขตของพระราชวัง และในปี พ.ศ. 2295 ได้มีกษัตริย์องค์หนึ่งประสูติ ณ พระราชวังแห่งนี้คือ พระเจ้าจองโจ หรือ องค์ชายลีซาน และระหว่างยุคล่าอาณานิคมของญี่ปุ่น พวกญี่ปุ่นได้สร้างสวนสัตว์ สวนสาธารณะ และพิพิธภัณฑ์ไว้ที่นี่ จนในปี ค.ศ. 1983 (พ.ศ. 2526) ได้มีการย้ายสวนสัตว์และสวนสาธารณะออกไปเหลือแค่พิพิธภัณฑ์เท่านั้น
-พระราชวังคยองฮึยกุง พระราชวังใต้ หรือ พระราชวังเคียงฮึย เป็นหนึ่งในห้าพระราชวังที่สำคัญที่สุดของราชวงศ์โชซอนและเกาหลีพระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ สร้างในช่วงราชวงศ์โชซอนตอนปลายและพระราชวังแห่งนี้ได้เป็นพระราชวังแห่งที่ 2 ขององค์พระมหากษัตริย์ โดยพระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่ทางตะวันตกของโซล จึงเรียกว่า ซอกโวล (พระราชวังตะวันตก) โดยตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าอินโจ – พระเจ้าชอลจง เป็นเวลา 10 รัชกาลที่ประทับที่นี่
-ป้อมฮวาซอง ป้อมที่ใหญ่ที่สุดในราชวงศ์โชซอน (Hwaseong Fortress) ตั้งอยู่ที่เมืองซูวอน ประเทศเกาหลีใต้สร้างขึ้นในช่วง ค.ศ. 1794 – 1796 โดยพระเจ้าจองโจแห่งราชวงศ์โชซอน เพื่อใช้เป็นที่ประทับและเป็นที่ฝังพระศพขององค์ชายรัชทายาทจังฮอน (องค์ชายซาโด) ที่ถูกพระบิดาคือพระเจ้ายองโจซึ่งเป็นพระอัยกาของพระเจ้าจองโจลงโทษโดยการขังองค์ชายไว้ในถังข้าว ให้อดข้าวอดน้ำพอผ่านไป 7 วันจนสิ้นพระชนม์ภายในถังข้าว
ป้อมฮวาซองมีพืนที่ถึง 30 ตารางกิโลเมตรโดยตั้งอยู่ทางใต้ของกรุงโซล (พ.ศ. 2540)
อาณาจักรโชซอนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยพระเจ้าเซจงมหาราช (พ.ศ. 1961 – พ.ศ. 1993) ทั้งในด้านการปกครองและวัฒนธรรม ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่ตั้งอยู่ในคุณธรรมและเห็นแก่ประชาชน พระเจ้าเซจงทรงให้มีการก่อสร้างจิปฮยอนจอน สำนักรวบรวมปราชญ์ขงจื้อเพื่อคอยเป็นที่ปรึกษาให้กับพระองค์และสร้างนัก ปราชญ์ที่คงแก่เรียนต่อไป สมัยพระเจ้าเซจงมหาราชมีนักประดิษฐ์ชื่อจาง ยองชิล ประดิษฐ์มาตรวัดน้ำฝนอันแรกของโลก และสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ เช่น นาฬิกาแดด สมัยพระเจ้าเซจงมหาราชเป็นสมัยแห่งการแผยแพร่ความรู้ตามแบบเกาหลีโบราณใน หลายสาขา เช่น การเกษตร การแพทย์ ดนตรี มีการพิมพ์หนังสือขึ้นหลายเล่ม เกี่ยวกับแขนงวิชาเหล่านี้ และใน พ.ศ. 1986 ทรงสั่งให้มีการประดิษฐ์อักษรฮันกึล เป็นอักษรของชาวเกาหลีชุดแรกแทนที่ฮันจา|อักษรจีนที่ใช้เขียนแทนเสียงภาษาเกาหลี
ในพ.ศ. 2130 โทโยโทมิ ฮิเดโยชิิ โชกุนซึ่งได้รวบรวมประเทศญี่ปุ่นในยุคเซงโงกุุได้จนสำเร็จ คิดวางแผนที่จะบุกยึดจีนราชวงศ์หมิง แต่ระหว่างทั้งสองประเทศนั้นมีโชซอนคั่นกลาง โทโยโทมิจึงได้สั่งให้โซ โยชิโทชิ เจ้าผู้ครองเกาะซึชิมา ไปยื่นคำขาดแก่โชซอนให้ช่วยเหลือญี่ปุ่นในการบุกยึดราชวงศ์หมิง แต่เกาะซิชิมาได้รับเอกสิทธิ์จากโชซอนให้เป็นทางผ่านการค้ากับโชซอนเพียง เกาะเดียว ทำให้โซเจ้าผู้ครองเกาะไม่อยากจะทำลายความสัมพันธ์อันดีกับโชซอนและทำลายการ ค้า จึงส่งบรรณาการให้กับโชซอนแทน พระเจ้าซอนโจจึง ส่งทูตไปยังเกียวโตเพื่อขอบพระทัยโทโยโทมิ แต่โทโยโทมิเข้าใจว่าทูตโชซอนมาส่งบรรณาการ
ขอบคุณข้อมูลจาก www.nightsiam.com
Leave a Reply