รีวิวหมอดู ดูดวง เสริมดวง ดวงชะตา ราศี ฟรี | HoroGuide.com

สรรหาหมอดูที่น่าเชื่อถือ มารีวิวหมอดู พร้อมทั้งให้คะแนนและบอกรายละเอียด รวมถึงสาระความรู้ เกี่ยวกับการดูดวง เสริมดวงการงาน เสริมดวงการเงิน เสริมดวงความรัก ฟรี

Advertisement

เล่าจื้อ ศาสดาลัทธิเต๋า

เหลาจื้อ (เล่าจื๊อ 老子)  แซ่ หลี่ ชื่อตัวว่า เอ่อร์ เป็นคนอำเภอขู่เสี้ยนรัฐฉู่ (ปัจจุบันคือเมืองลู่อี้ในมณฑลเหอหนาน) เล่ากันว่า เหล่าจื้อรูปร่างสูง  หูยาว  ตาโต หน้าผากกว้างและริมฝีปากหนา

เหลาจื้อเป็นศาสดาแห่งลัทธิเต๋าหรือศาสนาเต๋า

เรื่องราวของท่านส่วนใหญ่พบอยู่ในตำนาน ไม่มีบันทึกว่าเกิดเมื่อใด

แต่นักประวัติศาสตร์ของจีนซือหม่าเชียนเชื่อว่า เหลาจื้อคงมีชีวิตอยู่

ร่วมสมัยกับขงจื๊อ  ในสมัยชุนชิว-จั้นกั๋ว (770 – 221

ก่อนคริสต์สักราช)  ในตำนานเล่าว่า เหลาจื้อเป็นปรมาจารย์ผู้เขียนตำรา

เต้าเต๋อจิง คัมภีร์ว่าด้วยคุณธรรม (เต๋าเต็กเก็ง道德经 )  ที่โด่งดังของลัทธิเต๋า แต่ยังไม่มีใครบอกได้ชัดเจนว่าท่านเกิดเมื่อไรและอยู่จนถึงอายุเท่าไหร่

เหลาจื้อเป็นปราชญ์ร่วมยุคสมัยกับขงจื้อ  เคยรับราชการเป็นผู้ ดูแลห้องสมุดเก็บหนังสือของบ้านเมือง (เท่ากับห้องสมุดแห่งชาติ ) ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงกลายเป็นพหูสูตร มีความรู้ลึกซึ้งและกว้าง ขวาง ได้รับความเคารพและเลื่อมใสศรัทธาจากคนทั่วไป

เหลาจื้อมักจะเผยแพร่ความรู้แก่ผู้คนไปทุกหนทุกแห่ง สรรเสริญคุณงามความดีของราชวงศ์โจว ความคิดของท่านกว้าง ขวางและลึกซึ้งมาก มีอยู่ครั้งหนึ่งขงจื้อเดินทางไปพบสนทนากับ เหลาจื้อ เพื่อขอเรียนรู้ประเพณีและมารยาทของราชวงศ์โจว

เหลาจื้อเห็นราชวงศ์เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ จึงได้ลาออกจาก ราชการและขี่วัวสีดำเดินทางออกจากเมืองหลวงมุ่งหน้าทางทิศตะวันตก ขณะผ่านด่านหานกู่กวาน หยินสี่หัวหน้าด่านหานกู่กวานพอรู้ว่า เหลาจื่อจะผ่านมาก็แอบไปพบและขอให้เหลาจื้อเขียนหนังสือให้เป็นที่ระลึก  ท่านจึงเขียนหนังสือไว้ 5,000 ตัวอักษร แล้วขี่วัวสีดำมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกต่ออย่างไร้ร่องรอย มีบางคน บอกว่า ท่านมีอายุถึง60ปี   แต่ก็มีบางคนบอกว่า  ท่านมีอายุนานกว่า200ปี

ส่วนหนังสือที่มี5,000ตัวอักษรเล่มนี้ก็คือคัมภีร์ “เหลาจื้อ” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คัมภีร์ “เต้าเต๋อจิง” (เต๋าเต็กเก็ง) ซึ่งเป็นผลงานอันลือเลื่องและได้รับการยกย่องทั่วโลก นักปราชญ์ใน รุ่นหลังได้แบ่งเต๋าเต็กเก็งออกเป็น 81 บท
เหลาจื้อเป็นนักคิดวัตถุนิยมที่เรียบง่าย ตามความหมายของศัพท์ “เต๋า”มักแปลว่า“หนทาง”หรือ”วิถี”แต่ยากที่จะอธิบายความหมายของ ”เต๋า”ได้ ดังที่บทที่ 1 ของคัมภีร์เต้าเต๋อจิงกล่าวว่า “เต๋าที่อธิบายได้ มิใช่เต๋าที่อมตะ” ปราชญ์ลัทธิเต๋าพยายามเสนอวิถีทางที่จะนำไปสู่ สังคมสันติภาพ โดยเชื่อว่า เต๋านั้นยิ่งใหญ่ครอบคลุมคุณธรรม เมตตาธรรม ความชอบธรรม เป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สุด และเป็นแหล่งเกิดสรรพสิ่งต่างๆ  หนังสือ “เต้าเต๋อจิง”ให้ความเห็นว่า สรรพสิ่งต่างๆไม่ได้ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว หากต้องอาศัยซึ่งกันและ กันและมีความสัมพันธ์กัน

เหลาจื้อยังได้ชี้แจงหลักเกณฑ์ในหนังสือ“เต้าเต๋อจิง”ว่า สรรพสิ่งมีความสัมพันธ์กันโดยพึ่งพิงซึ่งกันและกันและก็ขัดแย้งกัน  อาจกล่าวได้ว่า  เป็นความสัมพันธ์ในเชิงวิภาษวิธี อย่างเช่นคำกล่าวที่ว่า “โชคดี”กับ”โชคร้าย”สามารถเปลี่ยนพลิกไปมาระหว่างกันได้ “โชคดี”มีอยู่ใน“โชคร้าย” “โชคร้าย” แฝงอยู่ใน“โชคดี” หรือคำพูดที่เป็นสัจจะไม่ถูกหู  คำพูดที่ไพเราะไม่ชอบด้วยสัจจะ”ฯลฯ  เหล่าจื่อกล่าวว่า เมล็ดพืชเล็กๆเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่โตได้ ดินที่สลายนั้นสามารถนำ ไปทำเป็นเนินสูงได้ คนเราถ้าไม่กลัวความยากลำบาก ถ้าเริ่มต้นทีละเล็กทีละน้อยก็สามารถขจัดอุปสรรคและบรรลุภารกิจที่ยิ่งใหญ่ได้

คนรุ่นหลังยกย่องให้เหลาจื้อเป็นปฐมาจารย์แห่งลัทธิเต๋า แนวคิดด้านปรัชญาของเหลาจื้อมีฐานะสำคัญในประวัติปรัชญาของจีน  ส่วนความคิดทางการเมืองของเหลาจื้อเช่น“การปกครองประเทศ ใหญ่ก็เหมือนต้มปลาในหม้อ ถ้ากวนน้ำมากก็จะเสียหายมาก”นั้นก็มี อิทธิพลต่อนักคิดก้าวหน้าและนักการปฏิรูปสังคมเพ้อฝันในยุคต่อมา
คัมภีร“เต้าเต๋อจิง”มีอิทธิพลมากในทั่วโลกโดยมีฉบับแปลเป็น ภาษาต่างประเทศมากกว่า 250 สำนวน

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *