การให้ร้ายผู้อื่นนั้นหากมาจากตนเองคือการแสดงออกซึ่งความริษยาอย่างหนึ่ง หากพิจารณาให้ลึกซึ้งจะเกี่ยวข้องกับความสูญเสียที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียอำนาจ หากคิดว่าตนเองจะสูญเสียอำนาจนั่นหมายความว่าตนเองคิดว่าตนเองมีอำนาจอยู่ แล้วอำนาจนั้นไม่ว่าจะเป็นอำนาจจริงหรือำนาจแฝงก็ตาม แล้วลักษณะการใช้อำนาจนั้นจะใช้ในลักษณะที่เป็นพระเดชอย่างที่ผู้เขียนได้อธิบายมาแล้ว การใช้อำนาจโดยความเป็นพระเดชจึงเป็นการใช้ไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนตนเสียเป็นส่วนใหญ่ การที่จะหยุดการให้ร้ายผู้อื่นนั้น ต้องรู้ก่อนว่าอะไรคือสาเหตุทำให้เกิดการให้ร้ายผู้อื่นเสียก่อน
อำนาจและผลประโยชน์ส่วนตนเป็นเหตุแห่งความริษยา ความริษยาเป็นเหตุทำให้เกิดการให้ร้ายผู้อื่นขึ้น การให้ร้ายผู้อื่นคือการทำลายู่แข่งไปในตัว หรือการให้ร้ายผู้อื่นเกิดจากการที่เราไม่ยอมรับความจริงก็ได้ สมัยเด็กผู้เขียนได้ทำบางอย่างที่ไม่ดีขึ้น แล้วคุณย่าชอบนำเรื่องอะไรต่อมิอะไรมาเล่าให้ผู้เขียนฟังอยู่เสมอ ๆ แล้วผู้เขียนนิสัยเสียคือเป็นคนช่างฟ้อง แล้วผู้เขียนก็ได้นำเรื่องที่คุณย่าเล่าให้ฟังไปเล่าต่อให้ญาติที่เกี่ยวข้องฟัง พอคุณย่าทราบเรื่องก็หาว่าผู้เขียนกุเรื่องนั้นขึ้นมา ความคิดแวบ ณ. ขณะนั้นคืออยากจะเอาเทปอัดเสียงแล้วเอาไปเปิดให้ฟังให้มันรู้แล้วรู้รอดกันไปด้วยความแค้น เรื่องนี้เกิดมาประมาณ 20 ปีแล้วก่อนที่ผู้เขียนจะลงมือปฏิบัติธรรม แต่ด้วยความที่ผู้เขียนไม่นึกว่าคุณย่าจะกลายเป็นคนที่เอาตัวรอดนั่นอย่างหนึ่ง แล้วอีกกรณีหนึ่งผู้เขียนก็มีส่วนผิดหรือไม่ผิดก็ไม่รู้แหล่ะ แต่ทำสิ่งนั้นไปด้วยความหวังดี นี่ก็เป็นการให้ร้ายอย่างหนึ่ง ฉะนั้นการให้ร้ายผู้อื่นนั้นมาจากการพยายามเอาตัวรอดของตนด้วย
แต่การให้ร้ายผู้อื่นด้วยความเอาตนเองให้รอด ยังไม่ร้ายแรงเท่าการให้ร้ายผู้อื่นด้วยแรงริษยาแล้วอาฆาต เพราะการเอาตัวรอดเป็นการกระทำเพียงครั้งเดียว จากในกรณีที่เล่าเรื่องคุณย่านั้น เพราะผลที่เกิดขึ้นแล้วและจำฝังใจผู้เขียนอยู่นาน กว่าจะเลิกแค้นก็ตอนที่มาปฏิบัติธรรมแล้วนี่แหล่ะ นี่คือสิ่งที่ผู้เขียนได้รับ แล้วหากผู้เขียนไม่ลงมือปฏิบัติธรรมจะเป็นเหตุแห่งการผูกพยาบาทสร้างเวรต่อกันไปอีกในอนาคตข้างหน้า ที่สำคัญจะเป็นอนาคตชาติซึ่งสะท้อนให้เห็นผลของการให้ร้ายผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดีเลยทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ หากพูดแล้วยอมรับความจริงกันไปก็จบ คุณย่าเองก็มีส่วนที่ไม่ถูกเพราะดันเอาความลับมาเล่าให้ผู้เขียนฟัง หากไม่เล่าเสียอย่างผู้เขียนก็จะไม่รู้ หากคิดแบบปุถุชนผู้เขียนก็ผิดเพราะดันไปเล่าต่อให้ญาติผู้เกี่ยวข้อง แต่ถ้าคิดถึงการปฏิบัติธรรมก็ถูกแล้ว เพราะหากนั่นเป็นความจริงก็ต้องเผชิญกันไป
หากเราไม่เป็นคนขี้ขลาดเสียอย่างการให้ร้ายผู้อื่นด้วยความเอาตัวรอดก็จะไม่เกิดขึ้น ส่วนการให้ร้ายผู้อื่นด้วยความริษยา ให้ลดละความอยากลง แล้วหนีไม่พ้นคือการทำเพื่อผู้อื่นให้มากขึ้นแล้วทำเพื่อตนเองให้น้อยลง ด้วยความตั้งใจจะทำให้ได้หรือพยายามให้มีเจตนาในการทำสิ่งนั้นให้ได้ เมื่อเราลดความริษยาลงไปความมุทิตาก็จะมีมากขึ้นตามความริษยาซึ่งจะลดน้อยถอยลง ส่วนผู้ริษยาคนอื่นแล้วให้ร้ายผู้ที่เราริษยาให้กระจายด้วยการประจานสิ่งที่ไม่เป็นความจริงให้สังคมรับรู้ ผู้นั้นเองก็จะโดนความจริงย้อนกลับมาทำร้ายตนเองมากขึ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วตนเองต้องได้รับแรงกระแทกนั้นให้ได้รับความเจ็บปวดใจและอาจจะรวมทั้งกายด้วย แล้วจุดจบของตนเองก็จะมาถึงนั่นเอง
เมื่อรู้ผลที่จะเกิดขึ้นจากการให้ร้ายผู้อื่นแล้ว ก็อย่าไปทำเหตุให้เกิดขึ้น เหตุแห่งความเสี่ยงทั้งสองหากยังมีอยู่ใมนตน ไม่ว่าการจะเอาตนเองให้รอดจากความผิดที่ตนได้ทำขึ้น หรือความริษยาผู้อื่นไม่อยากให้คนอื่นได้ดีกว่าตน เหตุเกิดที่ไหนดับที่นั้น เพราะหากไม่ดับเหตุผลที่เกิดตามมาอาจจะร้ายแรง เช่นถ้าผู้เขียนไม่รู้จักการปฏิบัติธรรม อาจจะทำให้ผู้เขียนไม่อาจหลุดพ้นจากความพยาบาทคุณย่าได้ แล้วผู้เขียนเองก็เป็นคนที่มีความพยาบาทที่รุนแรงมาก ทำให้ผู้เขียนรู้แจ้งถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับตนและคุณย่า เพราะนั่นหมายความว่าผู้เขียนยังคิดที่จะทำร้ายคุณย่าอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่ได้ทำร้ายคุณย่าจริงก็ตาม แต่นั่นก็ทำให้ผู้เขียนทุกข์ใจอยู่ไม่น้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก www.dhumma.net
Leave a Reply